เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับ INFJ ที่เบื่อง่ายและหมดไฟ

ถ้าคุณกำลังรู้สึกเหมือนกำลังวิ่งอยู่บน Treadmill ของชีวิต... ที่วิ่งไปเท่าไหร่ก็ไม่ถึงไหนสักที รู้ไว้เลยว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียวบนเครื่องวิ่งนั้น! และบางทีเราอาจจะช่วยกันหาทางเปลี่ยนให้มันเป็นการวิ่งที่มีความหมายมากขึ้นก็ได้


มาร่วมค้นหาวิธีเปลี่ยนวันทำงานธรรมดา ๆ ให้กลายเป็นการผจญภัยที่มีความหมาย และเรียนรู้วิธีรักษาไฟในใจ INFJ ให้ลุกโชนอยู่เสมอ... โดยไม่ต้องพึ่งกาแฟถึงสามแก้วต่อวัน!

ทางลัดคนขี้เกียจ

จุดเริ่มต้นของเรื่องราว

ช่วงที่ผ่านมา ผมเผชิญกับภาวะหมดไฟในการทำงาน ทุกเช้าผมมักถามตัวเองว่า "ทำไมรู้สึกไม่มีอารมณ์จะทำงานเลยย" การทำงานแบบเดิมๆ ตื่นเช้าเข้าออฟฟิศเปิดคอมวนลูปทุกวันแบบนี้ ทำให้ผมรู้สึกท้อและเบื่อหน่าย

การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นเมื่อผมตัดสินใจจับความคิดอันยุ่งเหยิงนี้ มาเรียงเป็นข้อๆ ให้ง่ายขึ้นต่อการหาคำตอบ แทนที่จะปล่อยให้ความกังวลวนเวียนอยู่ในหัว

นี่จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของบทความนี้ ที่มาจากการลองผิดลองถูกของตัวเอง อ่านหนังสือบ้าง ค้นหาข้อมูลต่างๆบ้าง เพื่อนำมาแบ่งปันในบทความนี้


สาเหตุที่ผมคิดว่าทำให้ INFJ เบื่อง่าย.

ความต้องการเห็นความหมายในทุกอย่าง

INFJ ต้องการความหมายในสิ่งที่ทำ หากงานดูไม่มีจุดประสงค์ที่ลึกซึ้งหรือไม่มีผลกระทบที่ชัดเจน คุณก็อาจรู้สึกเบื่อได้ง่ายๆ

ติดกับดักวงจรซ้ำซาก

คุณอาจทำงานบางอย่างด้วย "หน้าที่" มากกว่า "ความต้องการ" ของตัวเอง ทำให้อารมณ์ดึงดูดคุณไปสู่สิ่งที่ให้ความรู้สึกใหม่แทน

อารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง

INFJ มักจะรู้สึกทุกอย่างเข้มข้นกว่าคนทั่วไป เช่น ความวิตกกังวลหรือความเบื่อหน่าย เราก็เลยเหมือนได้ Upgrade เป็น Premium Version!


คู่มือรับมือฉบับ INFJ ที่กำลังหมดไฟ!

เทคนิคเหล่านี้ไม่จำกัดเฉพาะคนไทป์ INFJ เท่านั้น ใครก็สามารถปรับใช้ได้ครับ สิ่งสำคัญคือ เลือกเฉพาะวิธีที่เหมาะสมกับตัวเราเอง ไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ทั้งหมดหรือบังคับตัวเองจนรู้สึกกดดันเกินไป

ในอดีต ผมเคยอ่านเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากมาย แล้วลองนำทุกอย่างมาใช้พร้อมกัน ผลลัพธ์กลับกลายเป็นว่าแทนที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ กลับสร้างความกดดันและทำให้รู้สึกเครียดมากขึ้น

หลังจากนั้น ผมได้ปรับเปลี่ยนวิธีการ โดยเลือกใช้เฉพาะเทคนิคที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด ทำให้การทำงานกลายเป็นเรื่องที่มีความสุขและผ่อนคลายขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่าการค้นหาวิธีที่ ใช่ สำหรับตัวเรานั้น เป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างแท้จริงครับ ส่วนจะมีวิธีใดบ้างบทความนี้เรามาดูกันครับ

การเชื่อมโยงงานกับเป้าหมายที่มีความหมาย
  • หากงานดูไม่น่าสนใจ ลองสร้างความหมายขึ้นมา เช่น การมองว่างานนี้เป็นขั้นตอนเล็ก ๆ ที่สำคัญในการพัฒนาตัวเอง
  • มองหาคุณค่าในงานประจำ: "งานนี้จะพัฒนาทักษะอะไรให้เราบ้าง?"
  • สร้างความเชื่อมโยงระหว่างงานปัจจุบันกับเป้าหมายระยะยาว
  • ปรับมุมมองให้เห็นว่าทุกงานคือก้าวย่อยสู่ความสำเร็จ
ผสมผสานสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน
  • เปลี่ยนสถานที่ทำงาน เช่น คาเฟ่หรือสวนสาธารณะ เพื่อเพิ่มแรงบันดาลใจ
  • ใช้เครื่องมือใหม่ ๆ หรือเทคนิคที่ไม่เคยลอง เช่น แอปจัดการเวลา หรือการทำ Bullet Journal
  • จัดเวลาสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ เช่น อ่านบทความหรือเข้าคอร์สสั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน
จัดการความคาดหวังแบบ INFJ
  • ยอมรับว่า "งานที่ดีพอ" นั้นดีกว่า "งานที่สมบูรณ์แบบแต่ไม่เสร็จ"
  • ตั้งเป้าหมายย่อยที่สามารถบรรลุได้ง่าย เพื่อสร้างความมั่นใจและแรงจูงใจ
ออกแบบระบบการสร้างแรงจูงใจของคุณ
  • แบ่งงานออกเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น เทคนิค Pomodoro (ทำงาน 25 นาที พัก 5 นาที) เพื่อหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้า
  • ตั้งรางวัลเล็ก ๆ ให้ตัวเองเมื่อทำงานเสร็จ เช่น การพักผ่อนหรือการดูหนัง
  • หาเพื่อนร่วมงานที่สามารถเป็น "Accountability Partner" เพื่อช่วยกระตุ้นและติดตามผล
ตั้งเวลาสำหรับ “การสะท้อนตัวเอง” (Reflection Time)
  • INFJ มักมองหาความหมายในทุกสิ่ง การตั้งเวลาวันละ 10-15 นาทีเพื่อสะท้อนถึงความสำเร็จหรือประสบการณ์ในวันนั้น จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจและช่วยเรียบเรียงความคิดอันยุ่งเหยิงของเราได้ดีมากๆเลยครับ
  • เครื่องมือ: Apps ต่างๆ เช่น Day One , Notion, หรือสมุดโน้ตก็ได้ครับ
สร้าง Ritual ก่อนเริ่มทำงาน
  • การเริ่มงานด้วยกิจกรรมที่คุ้นเคย เช่น การจิบชากาแฟ ฟังเพลงเบา ๆ จะช่วยส่งสัญญาณให้สมองเตรียมพร้อมทำงาน
พัฒนาทักษะการ “ปฏิเสธอย่างสร้างสรรค์”
  • INFJ มักมีปัญหากับการรับภาระเกินตัว การฝึกพูด “ไม่” อย่างสุภาพ เช่น “ตอนนี้ยังไม่สะดวก แต่ฉันยินดีช่วยในโอกาสถัดไป” ช่วยลดภาระและทำให้คุณโฟกัสกับสิ่งสำคัญได้
เรียนรู้จาก “กระบวนการ” แทนที่จะยึดติดกับผลลัพธ์
  • INFJ มักคาดหวังความสำเร็จที่สมบูรณ์แบบ แต่การเปลี่ยนมุมมองไปที่การเรียนรู้และเพลิดเพลินกับกระบวนการจะช่วยลดแรงกดดัน

สุดท้ายนี้...

การเป็น INFJ ที่กำลังเผชิญกับความเบื่อหน่ายและภาวะหมดไฟไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่เป็นโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาวิธีการทำงานที่เหมาะกับตัวเรา

การเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในทันที เริ่มจากการปรับเปลี่ยนเล็กๆ และค่อยๆ พัฒนาจนพบวิธีที่เหมาะกับตัวคุณ ความท้าทายไม่ใช่การหลีกหนีความเบื่อหน่าย แต่คือการเรียนรู้ที่จะจัดการกับมันอย่างชาญฉลาด

เมื่อเข้าใจตัวเองและมีเครื่องมือที่เหมาะสม คุณจะสามารถกลับมามีแรงจูงใจและทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้นได้

นี่เป็นโพสต์แรกของบล็อกเล็กๆ ของผมเองนะ อาจจะมีอะไรที่ยังไม่เป๊ะ หรือเรียบเรียงแบบงูๆ ปลาๆ อยู่บ้าง แต่เดี๋ยวจะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ใครสนใจก็แวะมาติดตามกันได้นะ มีเรื่องราวดีๆ จะมาแชร์ให้อ่านกันตลอด ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ! ✌️

This site is protected by reCAPTCHA and the Google Privacy Policy and Terms of Service apply.